เป้าหมายหลัก

เป้าหมายการเรียนรู้

ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราว เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจถึงเนื้อหาสาระสำคัญ จากการเรียนรู้ผ่านเรื่องสั้น ทำให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่านตระหนักและเห็นความสำคัญ สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่ใช้คำในภาษาเขียนอย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

week9

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย
ภาคเรียนที่  ๑  Quarter    ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                   ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
สัปดาห์ที่  ๙ วันที่  ๖ – ๙   กรกฎาคม  ๒๕๕๘                                                       เวลาเรียน ๓  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
หน่วยการเรียนรู้ : เรื่องสั้นฟ้าบ่กั้น เรื่อง ฟ้าโปรด

.........................................................................................................................................................................................

หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :  เรื่อง ฟ้าโปรด

สาระสำคัญ :                        ธรรมชาติสร้างและแบ่งปันอาหาร วิถีชีวิต การดำเนินชีวิต ความอยู่รอดให้กับมนุษย์ มิตรภาพ ความมีน้ำใจและการแบ่งปัน จะยังคงรักษาสัมพันธภาพที่ดีไว้ได้ 

Big  Question :                 เพราะเหตุใดเราต้องมีน้ำใจ ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

เป้าหมายย่อย :                    นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ เข้าใจและ จับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ สามารถอ่าน เขียน แต่งกลอนแปดและใช้สำนวน สุภาษิตเปรียบเทียบ อุปมาอุปมัยกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันได้ รู้จักคำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความ (คำไวพจน์)  สามารถเลือกมาแต่งเป็นประโยคตามความหมายของคำได้อย่างสร้างสรรค์ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม



Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome








จันทร์
โจทย์
 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านวรรณกรรม

คำถาม:
เพราะเหตุใดเราจึงต้องมีน้ำใจและรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น

เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านเรื่องสั้น
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Wall Thinking ผลงานแต่งตอนจบใหม่
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านนิทาน และสรุปนิทานที่อ่าน

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น เรื่อง ฟ้าโปรด


ขั้นนำ
ครูและนักเรียนทักทายและสนทนาเกี่ยวกับเพื่อนและความมีน้ำใจ

ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่องพร้อมกัน และอ่านทีละคน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและให้คำนิยามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านในแง่มุมใหม่ต่างจากเรื่องที่อ่าน
ใช้:
  นักเรียนแต่งตอนจบใหม่

ขั้นสรุป   
  นักเรียนนำเสนอผลงานของตนเอง ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้
ชิ้นงาน
 แต่งตอนจบใหม่

ภาระงาน
- อ่านนิทานเรื่อง ฟ้าโปรด
- วิเคราะห์เรื่องที่อ่าน สิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้


ความรู้
- คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จาการอ่าน
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
- ทักษะการอ่านออกเสียง การอ่านในใจ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน



Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







อังคาร
โจทย์
 การสรุปเนื้อเรื่องด้วยการนำมาแต่งเป็นกลอนแปด
คำถาม:
นักเรียนจะสามารถแต่งกลอนแปดได้ ต้องพิจารณาองค์ประกอบใดบ้าง?

เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share องค์ประกอบและหลักการแต่งกลอนแปด
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องการแต่งคำประพันธ์
- Show and Share กลอนแปดสรุปเนื้อเรื่อง
- Brainstorm หลักการแต่งกลอนแปด
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น เรื่อง ฟ้าโปรด

ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่อ่าน

ขั้นสอน
ชง:
-  ครูเขียนตัวอย่างกลอนแปดบนกระดาน นักเรียนอ่านกลอนแปดบนกระดานพร้อมๆกัน ครูถามคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร” นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-  นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของกลอนแปดเพิ่มเติมโดยช่วยกันแสดงความคิดเห็นและหลักการแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการแต่งและการอ่านกลอนแปด รวมทั้งการนำไปใช้ผ่านคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
- นักเรียนช่วยกันเสนอแนะเกี่ยวกับการแต่งและการอ่านกลอนแปด หลักการและองค์ประกอบในการแต่ง และการนำไปใช้
ใช้:
นักเรียนสรุปเนื้อหาเรื่องฟ้าโปรด เป็นกลอนแปด 2-3 บท พร้อมนำเสนอชิ้นงาน

ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับเนื้อหาและการแต่งกลอนแปด และสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ พร้อมทั้งเสนอแนะเกี่ยวกับการนำไปใช้เพิ่มเติม

 ชิ้นงาน
สรุปเนื้อเรื่องด้วยการนำมาแต่งกลอนแปด

ภาระงาน
ศึกษาค้นคว้าองค์ประกอบและหลักในการแต่งกลอนแปด วิเคราะห์ สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการนำไปใช้

ความรู้
- หลักการเขียนเชิงสร้างสรรค์
-การอ่าน และการแต่งคำประพันธ์
-ความหมายของคำศัพท์ใหม่และวิธีการนำไปใช้ในการเขียน การอ่าน และการพูด
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานการเขียนแต่งเรื่อง
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
-ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์
- ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และการนำคำศัพท์และข้อคิดจากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เขียน และสื่อสาร
- ความคิดสร้างสรรค์


Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







พุธ
โจทย์
 การเปรียบเทียบ อุปมาอุปมัย กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

คำถาม:
สำนวนสุภาษิตมีความสำคัญอย่างไร เพราะเหตุใด?

เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับคำสุภาษิต และการนำไปใช้
- Show and Share คำสุภาษิตกลุ่มของตนเอง
- Round Robin  พูดคุย แลกเปลี่ยนเชื่อมโยง รูปภาพ เพื่อเข้าสู่เนื้อหา

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น เรื่อง ฟ้าโปรด
- ภาพช้างและข้าวเพื่อเชื่อมโยงเข้าสู้เนื้อหาหลักภาษา



ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาทักทายเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในชั่วโมงที่ผ่านมา

ขั้นสอน
ชง:
ครูมีภาพ 2 ภาพ คือภาพช้างและภาพข้าว ตั้งคำถามกระตุ้นการคิด:
- นักเรียนเห็นอะไรบ้าง จากสองภาพนี้?
- นักเรียนนึกถึงอะไรเมื่อเห็นสองภาพนี้?
- ช้างและข้าว เกี่ยวข้องเชื่อมโยงอย่างไรกับคำสุภาษิต?
เชื่อม:
นักเรียนช่วยกันเสนอแนะแลกเปลี่ยน หาความเชื่อมโยงเกี่ยวกับรูปภาพทั้งสองภาพ
ใช้:
- แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่มเท่าๆ กัน โดยที่ครูแบ่งหัวข้อออกเป็น คำสุภาษิตที่มีชื่อของพืชในสำนวน คำสุภาษิตที่มีชื่อของสัตว์ในสำนวน คำสุภาษิตที่มีชื่อของสิ่งของในสำนวน ให้นักเรียนทำ Wed เชื่อมโยง พร้อมวาดภาพที่เกี่ยวข้องกับคำสุภาษิตนั้นประกอบ

ขั้นสรุป
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอชิ้นงาน และสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ร่วมกัน
ชิ้นงาน
Wed เชื่อมโยง พร้อมวาดภาพที่เกี่ยวข้องกับคำสุภาษิตประกอบ

ภาระงาน
- สนทนา แลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงภาพกับคำสุภาษิต พร้อมทั้งเสนอแนะการนำไปใช้
- นำเสนอผลงาน

ความรู้
การอุปมาอุปมัยเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันเชื่อมโยงกับคำสุภาษิตที่สอดคล้องกัน
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์เนื้อหาของเรื่องที่อ่าน
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
-ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ เชื่อมโยง
- ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความหมายของคำศัพท์และการนำไปใช้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่นำเสนอ และสื่อสาร
- ทำงานได้ด้วยตนเอง



Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







พฤหัสบดี
โจทย์
 สามารถแยกแยะคำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความ รวมทั้งนำไปใช้ได้

คำถาม:
สำนวนสุภาษิตมีความสำคัญอย่างไร เพราะเหตุใด?

เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับคำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความ การแยกแยะคำ ความหมายและการนำไปใช้
- Show and Share ชิ้นงานลุ่มของตนเอง
- Round Robin  พูดคุย แลกเปลี่ยน เพื่อเข้าสู่เนื้อหา

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น เรื่อง ฟ้าโปรด
- ตัวอย่างข้อความ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความ
- i-pad



ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาทักทายเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในชั่วโมงที่ผ่านมา

ขั้นสอน
ชง:
- ครูเขียนตัวอย่างข้อความที่ประกอบด้วยคำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความ ลงบนกระดาน แล้วให้นักเรียนอ่านพร้อมกัน
- ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรจากข้อความดังกล่าว?
เชื่อม:
- นักเรียนช่วยกันเสนอแนะแลกเปลี่ยน เกี่ยวกับตัวอย่างข้อความบนกระดาน
- ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักในการพิจารณาคำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความ
ใช้:
- แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่มเท่าๆ กัน โดยที่ครูแบ่งหัวข้อออกเป็น คำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความ ให้นักเรียนทำตารางเพื่อแยกแยะและหาความหมายของคำโดยใช้สื่อสารสนเทศ (i-pad)  พร้อมวาดภาพที่เกี่ยวข้องกับคำสุภาษิตนั้นประกอบ

ขั้นสรุป
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอชิ้นงาน และสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ร่วมกัน
ชิ้นงาน
ตารางแยกแยะและหาความหมายของคำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความ พร้อมวาดภาพประกอบ

ภาระงาน
- สนทนา แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความ พร้อมทั้งเสนอแนะการนำไปใช้
- ค้นหาความหมายของคำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความ จาก i-pad
- นำเสนอผลงาน

ความรู้
สามารถแยกแยะและเข้าใจความหมายของคำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความ รวมทั้งนำไปใช้ได้
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์เนื้อหาของเรื่องที่อ่าน
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
-ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ เชื่อมโยง
- ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความหมายของคำศัพท์และการนำไปใช้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่นำเสนอ และสื่อสาร
- ทำงานได้ด้วยตนเอง


1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ11 กรกฎาคม 2558 เวลา 17:37

    บันทึกการสอน :
    ........ในสัปดาห์ที่ 9 นี้ พี่ๆป.5 ได้เรียนเนื้อหาวรรณกรรมเรื่อง ฟ้าโปรด หลักภาษาที่ได้เรียนรู้ประกอบด้วย การแต่งกลอนแปด สำนวน สุภาษิต คำพ้องรูป คำพ้องเสียง และคำพ้องความ (คำไวพจน์) ปัญหาที่พบในชั้นเรียน การแต่งกลอนถือว่าเป็นปัญหาของการเรียนภาษาไทย ส่วนน้อยมากที่พี่ ป.5 จะรู้และเข้าใจหลักการการแต่งคำประพันธ์ ประเภทกลอนสุภาพ (กลอนแปด) บางคนสามารถเข้าใจและรู้คำที่สัมผัสกัน ทั้งสัมผัสระหว่างวรรค ระหว่างบาท ระหว่างบท แต่พอให้แต่งจริงกลับไม่สามารถทำได้ ใช้คำยังไม่คล่อง แต่ก็ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานการใช้ภาษาในการสื่อสาร อีกอย่าง เรื่องของคำพ้องรูป คำพ้องเสียง บางคนไม่สามารถยกตัวอย่างให้ครู ในขณะที่ครูถามกลับได้เลย ซึ่งครูก็ต้องค่อยๆ ใช้เวลาในการสอนที่ไม่เร่งรีบเพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้ไปพร้อมกัน

    ตอบลบ