เป้าหมายหลัก

เป้าหมายการเรียนรู้

ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราว เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจถึงเนื้อหาสาระสำคัญ จากการเรียนรู้ผ่านเรื่องสั้น ทำให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่านตระหนักและเห็นความสำคัญ สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่ใช้คำในภาษาเขียนอย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

week6

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย
ภาคเรียนที่  ๑  Quarter    ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                       ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
สัปดาห์ที่  ๕ วันที่  ๘ – ๑๑   มิถุนายน  ๒๕๕๘                                         เวลาเรียน ๔  คาบ  (๑ ชั่วโมง / คาบ)
หน่วยการเรียนรู้ : เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น

.........................................................................................................................................................................................

หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :  เรื่อง ชาวไร่เบี้ย

สาระสำคัญ :                        มนุษย์เราต่างมีความคิด ทัศนคติ ความเชื่อที่หลากหลายแตกต่างกันไป บางสิ่งอาจจะล้าหลังเมื่อพบสิ่งใหม่  การยอมรับและการปรับตัวทางด้านทัศนคติจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันภายในสังคม
Big  Question :                 ก่อนที่เราจะเชื่อในอะไรสักอย่าง  เราจะต้องมีวิธีการพร้อมเหตุผลอย่างไร

เป้าหมายย่อย :                    นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ เข้าใจและ จับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล  รู้สึกซาบซึ้งกับเรื่องที่อ่านมีนิสัยรักการอ่าน  ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้  สามารถอ่านคำที่มักเขียนผิดและเขียนคำที่ถูกต้องได้ สามารถอ่าน เขียนและใช้คำเป็นคำตาย คำควบกล้ำ (ควบกล้ำแท้และไม่แท้) คำที่ประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์ รวมทั้งการบอกลักษณะนามของคำนามได้ถูกต้องและเหมาะสม มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม  




Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome








จันทร์
โจทย์
 จำแนกและบอกลักษณะคำเป็นคำตาย
คำถาม:
นักเรียนคิดว่า เราเรียนรู้คำเป็นคำตายไปเพื่ออะไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการเรียนรู้เรื่องคำเป็นคำตาย และจากการอ่านเรื่องสั้น
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับคำศัพท์
- Show and Share การเขียนนิทานและวาดภาพประกอบ
- Wall Thinking นิทานและวาดภาพประกอบ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- บัตรคำ
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น” เรื่อง ชาวไร่เบี้ย

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนทักทายและสนทนาเกี่ยวกับเรื่องสั้นที่อ่านไป นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ขั้นสอน
ชง:
ครูแจกบัตรคำ ที่มีทั้งคำเป็นคำตาย ให้นักเรียนคนละ ๑ คำ  แล้วให้นักเรียนอ่านคำศัพท์ที่ตนเองได้ให้เพื่อนฟัง
เชื่อม:
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรจากคำศัพท์เหล่านี้?
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น และเสนอคำต่าง ๆ ที่เป็นคำเป็นคำตาย
- ครูให้นักเรียนนำบัตรคำของตนเองไปติดที่บนกระดานที่ละคน โดยให้คำศัพท์ในบัตรคำสอดคล้องกับช่องในการจำแนกที่อยู่บนกระดาน
- ครูให้นักเรียนนำบัตรคำมาติดที่ละคน จนครบทุกคน
- ครูและนักเรียนพูดคุยและศึกษาคำที่ติดอยู่บนกระดานร่วมกัน
ใช้:
  นักเรียนเขียนเรื่องเชิงสร้างสรรค์ตามจินตนาการพร้อมทั้งวาดภาพประกอบให้สวยงาม โดยใช้คำเป็นคำตายในการแต่งเรื่อง พร้อมขีดเส้นใต้คำที่เป็นคำเป็นคำตาย
ขั้นสรุป   
  นักเรียนนำเสนอผลงานของตนเอง ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้ รวมทั้งประโยชน์ของคำเป็นคำตายและการนำไปใช้


ชิ้นงาน
 เขียนเรื่องเชิงสร้างสรรค์ตามจินตนาการพร้อมทั้งวาดภาพประกอบให้สวยงาม โดยใช้คำเป็นคำตายในการแต่งเรื่อง พร้อมขีดเส้นใต้คำที่เป็นคำเป็นคำตาย
ภาระงาน
แสดงความคิดเห็น และเสนอคำต่าง ๆ ที่เป็นคำเป็นคำตาย

ความรู้
คำศัพท์ใหม่จากการเรียนรู้เรื่องคำเป็นคำตาย และในเรื่องที่อ่าน
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงาน แง่มุมใหม่ที่ได้จาการอ่าน
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะการอ่านออกเสียง การอ่านในใจ
-ทักษะการเขียนสรุปองค์ความรู้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน

Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







อังคาร
โจทย์
 สามารถอธิบายลักษณะนามของคำนามได้
คำถาม:
นักเรียนจะใช้ อ่าน และเขียนคำควบกล้ำอย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการเชื่อมความสัมพันธ์คำนามกับคำลักษณะนาม
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับคำลักษณะนาม
- Show and Share การจำแนก/จัดหมวดหมู่คำลักษณะนาม
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำลักษณะนาม และการนำไปใช้

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น” เรื่อง ชาวไร่เบี้ย

ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนผ่านไปเมื่อวันจันทร์
ขั้นสอน
ชง:
-  ครูยกตัวอย่างของสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว เช่น ปากกา ดินสอ สมุด เป็นต้นครูถามคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร” นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-  นักเรียนวิเคราะห์เกี่ยวกับสิ่งของและลักษณะนามที่ใช้เรียกสิ่งของนั้น
 เชื่อม:
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับลักษณะนามของสิ่งของรวมทั้งการนำไปใช้ผ่านคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น ๕ กลุ่ม  ครูแจกกระดาษบรู๊ฟที่มีคำศัพท์ (คำนาม) สลับกับคำลักษณะนามเอาไว้ ๑๐ ข้อ และครูแจกบัตรคำให้ตามจำนวนข้อ
- นักเรียนจับคู่บัตรคำกับคำศัพท์ที่อยู่ในกระดาษบรู๊ฟให้มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันระดมความคิดเกี่ยวกับคำลักษณะนามที่กลุ่มตนเองได้รับ เช่น คำลักษณะนามที่บอกสัณฐาน คำลักษณะนามที่บอกสถานที่ เป็นต้น พร้อมวาดภาพประกอบ
ขั้นสรุป
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ และสนทนาสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ พร้อมทั้งเสนอแนะเกี่ยวกับการนำไปใช้เพิ่มเติม

ชิ้นงาน
จัดหมวดหมู่คำลักษณะนาม พร้อมวาดภาพประกอบ
ภาระงาน
- เล่นเกมจับคู่คำนามกับคำลักษณะนาม
- สนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้และการนำไปใช้
- นำเสนอผลงานกลุ่ม

ความรู้
การจำแนก/จัดหมวดหมู่คำลักษณะนามของคำนามให้ถูกต้องและเหมาะสม
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานคำลักษณะนาม
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนอ
- ทักษะการทำงานเป็นทีม
- ทักษะการเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- มีความคิดสร้างสรรค์




Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







พุธ
โจทย์
  การอ่าน การเขียนและการใช้คำที่มีอักษรนำ
คำถาม:
นักเรียนจะอ่านและเขียนโดยใช้คำที่มีอักษรนำ เพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการเรียนรู้เรื่องคำที่มีอักษรนำ
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า
- Show and Share ผลงานตารางจัดหมวดหมู่คำที่มีอักษรนำ
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับอักษรนำการอ่าน และการนำไปใช้
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- บัตรภาพ
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น” เรื่อง ชาวไร่เบี้ย


ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับชั่วโมงที่ผ่านมาเกี่ยวกับลักษณะนาม
ขั้นสอน
ชง:
- ครูนำบัตรภาพที่มีข้อความเกี่ยวข้องกับคำที่มีอักษรนำ เช่น ตลาด ข้าวหลาม หมู กุหลาบ เป็นต้น มาให้นักเรียนได้สังเกต ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร?
- นักเรียนคิดว่าเป็นคำชนิดใด เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น นักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็น
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนช่วยกันเสนอคำที่มีอักษรนำ (ทั้งอักษรนำออกเสียงหนึ่งเสียง ออกเสียงสองเสียง และ อ นำ ย) แล้วช่วยกันเสนอแนะความหมายและการนำไปใช้
- ครูเขียนคำที่มีอักษรนำบนกระดานเพิ่มเติม นักเรียนอ่านพร้อมๆกันและร่วมกันสรุปเกี่ยวกับคำที่มีอักษรนำ (ทั้งอักษรนำออกเสียงหนึ่งเสียง ออกเสียงสองเสียง และ อ นำ ย) แตกต่างกันอย่างไรและมีข้อสังเกตอย่างไร
ใช้:
นักเรียนตารางเพื่อจำแนกคำที่มีอักษรนำ(ทั้งอักษรนำออกเสียงหนึ่งเสียง ออกเสียงสองเสียง และ อ นำ ย)  เพื่อให้เห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ขั้นสรุป
ครูสุ่มให้นักเรียนนำเสนอผลงาน ๕-๖ คน

ชิ้นงาน
ตารางจัดหมวดหมู่ของคำที่มีอักษรนำ
ภารงาน
เสนอคำที่มีอักษรนำ (ทั้งอักษรนำออกเสียงหนึ่งเสียง ออกเสียงสองเสียง และ
 อ นำ ย) แล้วช่วยกันเสนอแนะความหมายและการนำไปใช้

ความรู้
คำศัพท์ใหม่จากการเรียนรู้เรื่องอักษรนำ
ทักษะ
- คิดจำแนก/จัดหมวดหมู่คำที่มีอักษรนำ
 - ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนอ
- ทักษะการทำงานเป็นทีม
- ทักษะการเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- มีความคิดสร้างสรรค์




Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







พฤหัส-บดี
โจทย์
   การอ่าน การเขียนและการใช้คำควบกล้ำ(ควบแท้และไม่แท้) และคำประวิสรรชนีย์และ
ไม่ประวิสรรชนีย์
คำถาม:
คำควบกล้ำ คำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์ และคำที่มีอักษรนำ วมีความแตกต่างหรือเหมือนอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการเรียนรู้คำควบกล้ำ และคำประวิสรรชนีย์และไม่แระวิสรรชนีย์
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
- Show and Share ผลงานแต่งประโยค
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำชนิดต่างๆ การอ่าน และการนำไปใช้
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- บัตรคำ
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น” เรื่อง ชาวไร่เบี้ย


ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนกล่าวทักทายกันต้นชั่วโมงและสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับคำที่มีอักษรนำที่ได้เรียนในวันพุธที่ผ่านมา
ขั้นสอน
ชง:
- ครูแจกบัตรคำให้กับนักเรียนคนละ ๑ คำ ให้นักเรียนอ่านคำศัพท์ที่ตนเองได้ให้เพื่อนฟัง แล้วตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรจากคำศัพท์เหล่านี้?
- นักเรียนได้เรียนคิดว่าเป็นคำชนิดใด เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น นักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็น
เชื่อม:
- นักเรียนนำบัตรคำไปติดที่หน้ากระดานที่ละคน โดยให้สอดคล้องกับชนิดของคำศัพท์ จนครบทุกคน
- ร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำศัพท์ที่อยู่บนกระดาน
- ครูและนักเรียนช่วยกันหาคำควบกล้ำ (แท้และไม่แท้) คำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์จากเรื่องชาวไร่เบี้ย แล้วช่วยกันเสนอแนะความหมายและการนำไปใช้
ใช้:
นักเรียนแต่งประโยคจากคำควบกล้ำ คำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์จากคำศัพท์บนกระดาน
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับคำควบกล้ำ คำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์ และคำที่มีอักษรนำ ว่าต่างหรือเหมือนอย่างไร

ชิ้นงาน
แต่งประโยค
ภาระงาน
หาคำควบกล้ำแท้และไม่แท้คำประวิสรรและไม่ประวิสรรชนีย์จากเรื่องชาวไร่เบี้ยและวิเคราะห์สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการนำไปใช้
ความรู้
การจำแนกแยกแยะคำควบกล้ำแท้กับความกล้ำไม่แท้ รวมทั้งคำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์ และการนำไปใช้
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงาน
 - ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนอ
- ทักษะการทำงานเป็นทีม
- ทักษะการเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- มีความคิดสร้างสรรค์


1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกการสอน :
    ในสัปดาห์นี้ เป็นการเรียนการสอนเกี่ยวกับ คำเป็นคำตาย อักษรนำ ลักษณะนาม คำควบกล้ำ(ควบกล้ำแท้-ไม่แท้) คำที่ประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์ ส่วนใหญ่ในห้องก็จะมีคนที่รู้แล้ว แต่ก็มีอีกไม่กี่คนที่ครูจะต้องทบทวนใหม่ทั้งหมด พยายามจะให้เพื่อนช่วยเพื่อนในการทำชิ้นงาน ในการเรียนเรื่องลักษณะนามก็จะมีหลายคนที่ใช้คำลักษณะนามไม่เป็น/ไม่ถูกต้อง ครูเองก็จะพยายามยกตัวอย่างให้หลากหลาย และหยิบยกสิ่งของที่อยู่รอบข้างใกล้ๆตัวเขา มาเป็นสื่อในการเรียนการสอน เช่น ปากกา ไม้บรรทัด ยางลม ดินสอ พัดลม กระดาน เก้าอี้ โต๊ะ สมุด รองเท้า เป็นต้น
    ส่วนเรื่องของอักษรนำ พี่ๆเองก็พยายามที่จะคิดคำศัพท์ที่เป็นอักษรนำ (คำที่อ่านหนึ่งเสียงและอ่านสองเสียง) คำที่อ่านหนึ่งเสียงจะไม่ค่อยมีปัญหาสักเท่าไหร่ แต่คำที่อ่านออกสองเสียงจะคิดไม่ค่อยออก ครูก็พยายามเชื่อมโยงและยกตัวอย่างเพื่อให้นักเรียนได้คิดออกได้มากขึ้น

    ตอบลบ