เป้าหมายหลัก

เป้าหมายการเรียนรู้

ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราว เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจถึงเนื้อหาสาระสำคัญ จากการเรียนรู้ผ่านเรื่องสั้น ทำให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่านตระหนักและเห็นความสำคัญ สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่ใช้คำในภาษาเขียนอย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

week4

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย
ภาคเรียนที่  ๑  Quarter    ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                        ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
สัปดาห์ที่  ๔  วันที่  ๑ – ๔   มิถุนายน  ๒๕๕๘                                            เวลาเรียน ๔  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
หน่วยการเรียนรู้ : เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น”

.........................................................................................................................................................................................

หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :  เรื่อง เขียดขาคำ

สาระสำคัญ :  วิถีชีวิตของสังคมชนบทอีสาน อาหาร วัฒนธรรม พร้อมๆกับการต้องพึ่งพาสังคมภายนอกที่เป็นตัวแทนของรัฐบาล ปากท้องเป็นเรื่องสำคัญของครอบครัว
Big Question : นักเรียนจะทำอย่างไรถ้านักเรียนเป็นนายนาค เพราะเหตุใดจึงทำเช่นนั้น

เป้าหมายย่อย :    นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ เข้าใจและจับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ สามารถอ่านและเขียนตัวสะกดที่ตรง มาตราแม่กง  กม  เกย และเกอว คำที่มีมาตราตัว สะกดไม่ตรงมาตรา แม่ กด กบ กนและกกได้ และสามารถนำมาแต่งประโยคได้ มีมารยาทในการพูดและฟัง



Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome








จันทร์
โจทย์
 ตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่สะกด
(แม่กดและแม่กบ)
คำถาม:
นักเรียนรู้จักมาตราตัวสะกดใดบ้าง ที่เป็นมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่สะกด?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share  บัตรคำ
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านเรื่องสั้น และสรุปเรื่องสั้นที่อ่าน
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยน ทบทวน เกี่ยวกับมาตราไม่ตรงตามตัวสะกด
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น” เรื่อง เขียดขาคำ

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนทักทายและสนทนาเกี่ยวกับเรื่องราวในเรื่องสั้นที่เคยอ่านมา
ขั้นสอน
ชง:
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “นักเรียนรู้จักมาตราตัวสะกดใดบ้าง ที่เป็นมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่สะกด?
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น และเสนอคำต่าง ๆ ที่เป็นคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
- ครูมีบัตรคำ(แม่กดและแม่กบ)ให้นักเรียนคนละ ๑ คำ  และครูเขียนมาตราตัวสะกดไว้บนกระดาน
- ครูให้นักเรียนนำบัตรคำของตนเองมาติดที่บนกระดานที่ละคน โดยให้คำในบัตรคำสอดคล้องกับมาตราตัวสะกดที่อยู่บนกระดาน
- ครูสุ่มนักเรียนนำบัตรคำมาติดที่ละคน จนครบทุกคน
- ครูและนักเรียนพูดคุยและศึกษาคำที่ติดอยู่บนกระดานร่วมกัน
ใช้:
  นักเรียนเลือกคำที่อยู่ในบัตรคำ  มาแต่งเป็นนิทานหรือแต่งประโยค (อย่างน้อย 10 คำ)
ขั้นสรุป   
  นักเรียนนำเสนอผลงานของตนเอง ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้

ชิ้นงาน
นิทานหรือแต่งประโยคคำที่สะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด

ภาระงาน
 ร่วมกันนำบัตรคำไปติดบนกระดานให้สอดคล้องกับมาตราตัวสะกด
ความรู้
- คำศัพท์ใหม่
-ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราทั้งในเรื่องที่อ่าน
ทักษะ
- คิดแยกแยะคำให้สอดคล้องตามมาตราตัวสะกด
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะการอ่านออกเสียง การอ่านในใจ
-ทักษะการเขียนสรุปองค์ความรู้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน

Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome








อังคาร
โจทย์
 ตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่สะกด
(แม่กกและแม่กน)
คำถาม:
นักเรียนรู้จักมาตราตัวสะกดใดบ้าง ที่เป็นมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่สะกด?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share  บัตรคำ
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Wall Thinking Mind Mapping แยกแยะคำศัพท์ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยน ทบทวน เกี่ยวกับไม่ตรงตามตัวสะกดมาตรา
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น” เรื่อง เขียดขาคำ

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนทักทายและสนทนาเกี่ยวกับเรื่องราวในเรื่องสั้นที่ผ่านอ่านมา
ขั้นสอน
ชง:
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม “นักเรียนรู้จักมาตราตัวสะกดใดบ้าง ที่เป็นมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตราแม่สะกด?
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น และเสนอคำต่าง ๆ ที่เป็นคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
- ครูมีบัตรคำ(แม่กกและแม่กน)ให้นักเรียนคนละ ๑ คำ  และครูเขียนมาตราตัวสะกดไว้บนกระดาน
- ครูให้นักเรียนนำบัตรคำของตนเองมาติดที่บนกระดานที่ละคน โดยให้คำในบัตรคำสอดคล้องกับมาตราตัวสะกดที่อยู่บนกระดาน
- ครูสุ่มนักเรียนนำบัตรคำมาติดที่ละคน จนครบทุกคน
- ครูและนักเรียนพูดคุยและศึกษาคำที่ติดอยู่บนกระดานร่วมกัน
ใช้:
  นักเรียนออกแบบ Mind Mapping แยกแยะคำศัพท์ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
ขั้นสรุป   
  นักเรียนนำเสนอผลงานของตนเอง ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้

ชิ้นงาน
Mind Mapping แยกแยะคำศัพท์ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา

ภาระงาน
 ร่วมกันนำบัตรคำไปติดบนกระดานให้สอดคล้องกับมาตราตัวสะกด
ความรู้
- คำศัพท์ใหม่
- ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราทั้งในเรื่องที่อ่านและคำศัพท์ใหม่
ทักษะ
- คิดแยกแยะคำให้สอดคล้องตามมาตราตัวสะกด
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะการอ่านออกเสียง การอ่านในใจ
-ทักษะการเขียนสรุปองค์ความรู้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน



Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome








พุธ
โจทย์
 
ความแตกต่างและความเหมือนของคำที่สะกดตรงและไม่ตรงมาตราตัวสะกด
คำถาม:
นักเรียนคิดว่าคำที่สะกดตรงตามมาตราตัวสะกดและไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดมีความแตกต่างหรือความเหมือนกันอย่างไรบ้าง?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share บัตรคำ
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิด
- Show and Share ผลงานนิทาน
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนักเรียนคิดว่าคำที่สะกดตรงตามมาตราตัวสะกดและไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดมีความแตกต่างหรือความเหมือนกันอย่างไรบ้าง?
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น” เรื่อง เขียดขาคำ

ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนกล่าวทักทายกันต้นชั่วโมง และพูดคุยเรื่องราวที่เกิดขึ้นที่บ้านของนักเรียน
ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าคำที่สะกดตรงตามมาตราตัวสะกดและไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดมีความแตกต่างหรือความเหมือนกันอย่างไรบ้าง?
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความแตกต่างและความเหมือนของคำที่สะกดตรงและไม่ตรงมาตราตัวสะกด ว่ามีลักษณะอย่างไร จะสามารถนำไปใช้ได้อย่างไร
ใช้:
นักเรียนแต่งนิทานเกี่ยวกับคำที่สะกดตรงและไม่ตรงมาตราตัวสะกด พร้อมวาดภาพประกอบ
ขั้นสรุป
ครูสุ่มให้นักเรียนนำเสนอผลงาน  ๕-๖ คน







ชิ้นงาน
แต่งนิทานเกี่ยวกับคำที่สะกดตรงและไม่ตรงมาตราตัวสะกด พร้อมวาดภาพประกอบ

ภาระงาน
- วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความแตกต่างและความเหมือนของคำที่สะกดตรงและไม่ตรงมาตราตัวสะกด ว่ามีลักษณะอย่างไร จะสามารถนำไปใช้ได้อย่างไร
- นำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้
ความรู้
การใช้/แยกแยะคำที่สะกดตรงและไม่ตรงตามมาตรตัวสะกดและแต่งเรื่องอย่างสร้างสรรค์
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงาน
 - ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนอ
- ทักษะการทำงานเป็นทีม
- ทักษะการเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- มีความคิดสร้างสรรค์



Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome








พฤหัสบดี
โจทย์
 ทบทวนวรรณกรรมและการอ่าน การเขียน ข้อสังเกตและการใช้คำในมาตราตัวสะกด
คำถาม:
นักเรียนจะใช้ อ่าน และเขียนโดยใช้คำชนิดต่างๆเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน และคำชนิดต่างๆ
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า
- Show and Share ผลงานการ์ตูนช่องชนิดของคำ
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำที่มีอักษรนำ การอ่าน และการนำไปใช้
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น” เรื่อง เขียดขาคำ



ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับวรรณกรรมและมาตราตัวสะกดที่นักเรียนได้เรียนผ่านมา
ขั้นสอน
ชง:
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่ามีคำอื่นนอกจากนี้หรือไม่ ที่จัดอยู่ในคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา เพราะเหตุใด?
- นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำที่มีตัวสะกดที่ตรงและไม่ตรงมาตราตัวสะกด พร้อมทั้งศึกษาชนิดของคำเพิ่มเติมจากครู ผู้รู้ อินเทอร์เน็ต (สื่อสารสนเทศ i-pad)
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำแต่ละชนิด ว่ามีลักษณะอย่างไร จะสามารถนำไปใช้ได้อย่างไร
ใช้:
นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้ตามความเข้าใจ ลงในสมุดของตนเอง
ขั้นสรุป
ครูสุ่มให้นักเรียนนำเสนอผลงาน ๗-๘ คน

ชิ้นงาน
เขียนสรุปองค์ความรู้ตามความเข้าใจ ลงในสมุดของตนเอง

ภาระงาน
วิเคราะห์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำที่มีตัวสะกดที่ตรงและไม่ตรงมาตราตัวสะกด พร้อมทั้งศึกษาชนิดของคำเพิ่มเติมจากครู ผู้รู้ อินเทอร์เน็ต (สื่อสารสนเทศ i-pad)
ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่และคำศัพท์ใหม่จากการค้นคว้าเพิ่มเติม
ทักษะ
- ทักษะในการใช้สื่อสารสนเทศ (i-pad)
 - ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนอ
- ทักษะการทำงานเป็นทีม
- ทักษะการเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
-มีความคิดสร้างสรรค์

1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกการสอน:
    ในสัปดาห์นี้ เป็นการเรียนการสอนในตัวสะกดไม่ตรงมาตรา และการแยกประเภทของคำ/ประโยค(ตรงมาตราและไม่ตรงมาตรา) พร้อมทั้งนำคำเหล่านั้นมาแต่งประโยค โดยที่ ใน 1 ประโยค จะต้องประกอบไปด้วยมาตราตัวสะกด (คำที่ครูให้เขียนตามคำบอก) ไม่ต่ำกว่า 3 มาตราแม่สะกด รวมทั้งการสรุปความเข้าใจและหลักภาษาผ่านวรรณกรรมเรื่องสั้นฟ้าบ่กั้น เรื่องเขียดขาคำ
    สิ่งที่เกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ จะเห็นพี่ๆ ป.5 ส่วนใหญ่มากกว่าครึ่ง มีความเข้าใจความรู้พื้นฐานมาบ้างแล้ว (แต่ส่วนน้อยที่ยังทำความเข้าใจช้ากว่าเพื่อน) ครูก็พยายามให้พี่ๆ ป.5 เรีบนรู้ไปพร้อมๆกัน ไม่เร็วหรือช้าจนเกินไป กระตุ้นให้เกิดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เพื่อนที่เข้าใจเร็ว ก็ให้ช่วยเพื่อนคนที่เข้าใจช้า ซึ่งในการสรุปความเข้าใจเอง พี่่ๆบางคนก็จะพยายามมาถามครูว่า เรื่องราวมันเล่าถึงอะไร เรียนอะไรผ่านมาแล้วบ้าง ครูก็จะถามกลับไปว่า พี่ได้คิดแล้วหรือยัง ให้พี่กลับไปทบทวนมาอีกครั้ง ทำมาก่อน ถูกผิดครูไม่ว่า (แต่ให้พี่มั่นใจทุกครั้งที่พี่ทำ) ในสัปดาห์พี่ๆป.5 มีความรับผิดชอบมากขึ้น ไม่มีงานค้างครับ

    ตอบลบ