เป้าหมายหลัก

เป้าหมายการเรียนรู้

ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราว เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจถึงเนื้อหาสาระสำคัญ จากการเรียนรู้ผ่านเรื่องสั้น ทำให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่านตระหนักและเห็นความสำคัญ สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่ใช้คำในภาษาเขียนอย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

week8

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย

ภาคเรียนที่  ๑  Quarter    ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                   ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
สัปดาห์ที่  ๘ วันที่  ๒๙ มิถุนายน – ๓   กรกฎาคม  ๒๕๕๘                                  เวลาเรียน ๔  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
หน่วยการเรียนรู้ : เรื่องสั่น “ฟ้าบ่กั้น”

.........................................................................................................................................................................................

หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :  เรื่อง กระดานไฟ

สาระสำคัญ :                        มนุษย์เราต่างมีความคิด ทัศนคติ ความเชื่อที่หลากหลายแตกต่างกันไป บางสิ่งอาจจะล้าหลังเมื่อพบสิ่งใหม่  การยอมรับและการปรับตัวทางด้านทัศนคติจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันภายในสังคม
Big  Question :                 ก่อนที่เราจะเชื่อในอะไรสักอย่าง  เราจะต้องมีวิธีการพร้อมเหตุผลอย่างไร
เป้าหมายย่อย :                    นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ เข้าใจและ จับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล  รู้สึกซาบซึ้งกับเรื่องที่อ่านมีนิสัยรักการอ่าน  ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้  สามารถอ่านคำที่มักเขียนผิดและเขียนคำที่ถูกต้องได้ สามารถอ่าน เขียนและใช้พจนานุกรมในการหาคำที่มีตัวการันต์ได้  มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม 




Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome








จันทร์
โจทย์
 นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากการแสดงละคร

คำถาม:
ละครที่กลุ่มของนักเรียนจะแสดงสอดคล้องกลับวรรณกรรมและหลักภาษาที่เรียนผ่านมาอย่างไร?

เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share การแสดงละคร

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น”

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนทักทายและสนทนาเกี่ยวกับละครของแต่ละกลุ่ม (ที่ได้ฝึกซ้อมมาตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา)
ขั้นสอน
ชง:
ครูกระตุ้นและให้กำลังใจ (Empower) ก่อนการแสดงละครของแต่ละกลุ่ม เพื่อนให้นักเรียนได้เกิดกำลังใจและเต็มที่กับการแสดงออก
เชื่อม:
- ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่นำมาแสดง “ละครที่กลุ่มของนักเรียนจะแสดงสอดคล้องกลับวรรณกรรมและหลักภาษาที่เรียนผ่านมาอย่างไร?
- นักเรียนแต่ละกลุ่มระดมความคิดและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นของละครที่จะแสดง
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มแสดงละคร ที่ได้ฝึกซ้อมมา

ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนและละครที่แสดงจบลงไปในวันนี้

ชิ้นงาน
   -

ภาระงาน
แสดงละครสอดคล้องกลับวรรณกรรมและหลักภาษาที่เรียนผ่านมาที่
ความรู้
การฝึกทักษะด้านการแสดง/บทบาทสมมติ
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงาน แง่มุมใหม่ที่ได้จาการอ่าน
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะการอ่านออกเสียง การอ่านในใจ
-ทักษะการเขียนสรุปองค์ความรู้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน






Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







อังคาร
โจทย์
 การใช้ การอ่าน การเขียนและการใช้
คำสันธานและคำบุพบท
คำถาม:
นักเรียนจะใช้ อ่าน และเขียนคำควบกล้ำอย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านเรื่องสั้น คำสันธานและคำบุพบท
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า
- Show and Share การแต่งเรื่องประกอบการวาดภาพ จากคำศัพท์
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำสันธาน  คำบุพบท การอ่านและการนำไปใช้

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น” เรื่อง กระดานไฟ

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนกล่าวทักทายกัน สนทนาเกี่ยวกับชนิดของคำในภาษาไทยมีอะไรบ้าง  แล้วคำเหล่านั้นมีความสำคัญอย่างไร

ขั้นสอน
ชง:
-  ครูเขียนตัวอย่างคำศัพท์ชนิดของคำ (คำสันธาน คำบุพบท) บนกระดานนักเรียนอ่านคำบนกระดานพร้อมๆกัน ครูถามคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร”
-นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
 เชื่อม:
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการอ่านชนิดของคำ รวมทั้งการนำไปใช้ผ่านคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
- นักเรียนช่วยกันเสนอแนะเกี่ยวกับการอ่านออกเสียง ความหมายของคำศัพท์ และการนำคำศัพท์ไปใช้ พร้อมทั้งช่วยกันเสนอแนะคำศัพท์เพิ่มเติม
- ครูยกตัวอย่างประโยคหรือบทความ (ที่มีความยาวพอสมควร) ให้นักเรียนอ่านพร้อมกัน ซึ่งในประโยคหรือบทความนั้นมีคำสันธานและคำบุพบทปรากฏอยู่ด้วย
ใช้:
นักเรียนนำคำศัพท์ที่ได้จากเรื่องที่อ่านไปใช้ในการแต่งเรื่องตามจินตนาการพร้อมวาดภาพระบายสีให้สวยงาม
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับชนิดของคำ และสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ พร้อมทั้งเสนอแนะเกี่ยวกับการนำไปใช้เพิ่มเติม

การบ้าน  ให้นักเรียนไปฝึกเขียนคำอุทานและคำวิเศษณ์มาจากบ้าน อย่างน้อยอย่างละ 10 คำ
ชิ้นงาน
แต่งเรื่องตามจินตนาการพร้อมวาดภาพระบายสี
ภาระงาน
- ศึกษาเกี่ยวกับคำสันธานและคำบุพบทเพิ่มเติมจากหนังสือที่อ่าน
- สนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้และการนำไปใช้

ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน การอ่าน การเขียนและการใช้
คำสันธานและคำบุพบท
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนอ
- ทักษะการทำงานเป็นทีม
- ทักษะการเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
-มีความคิดสร้างสรรค์


Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







พุธ
โจทย์
 การใช้ การอ่าน การเขียนและการใช้คำชนิดต่างๆ
(คำอุทานและคำวิเศษณ์ นักเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็น)
คำถาม:
นักเรียนจะใช้ อ่าน และเขียนโดยใช้คำชนิดต่างๆเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิด
- Show and Share ผลงานการแต่งเรื่องประกอบการวาดภาพ จากคำศัพท์
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับชนิดของคำ การอ่านและการนำไปใช้
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น” เรื่อง กระดานไฟ


ขั้นนำ
ครูและนักเรียนกล่าวทักทายกัน สนทนาทบทวนเกี่ยวชนิดของคำในชั่วโมงที่ผ่านมา

ขั้นสอน
ชง:
-  ครูแจกบัตรคำศัพท์ชนิดของคำ (คำอุทานและคำวิเศษณ์) ให้นักเรียนเอาไปติดบนกระดาน(แยกชนิดคำ)
- นักเรียนอ่านคำบนกระดานพร้อมๆกัน ครูถามคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร”
- นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
 เชื่อม:
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการอ่านชนิดของคำ รวมทั้งการนำไปใช้ผ่านคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
- นักเรียนช่วยกันเสนอแนะเกี่ยวกับการอ่านออกเสียง ความหมายของคำศัพท์ และการนำคำศัพท์ไปใช้ พร้อมทั้งช่วยกันเสนอแนะคำศัพท์เพิ่มเติม
- ครูยกตัวอย่างประโยคหรือบทความ (ที่มีความยาวพอสมควร) ให้นักเรียนอ่านพร้อมกัน ซึ่งในประโยคหรือบทความนั้นมีคำสันธานและคำบุพบทปรากฏอยู่ด้วย
ใช้:
นักเรียนนำคำศัพท์ที่ได้จากเรื่องที่อ่านไปใช้ในการแต่งเรื่องตามจินตนาการพร้อมวาดภาพระบายสีให้สวยงาม
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับชนิดของคำ และสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ พร้อมทั้งเสนอแนะเกี่ยวกับการนำไปใช้เพิ่มเติม
ชิ้นงาน
แต่งเรื่องตามจินตนาการพร้อมวาดภาพระบายสี

ภาระงาน
วิเคราะห์สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการนำไปใช้ในชีวิตจริงของคำศัพท์
ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน การอ่าน การเขียนและการใช้
คำอุทานและคำวิเศษณ์
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงาน
 - ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนอ
- ทักษะการทำงานเป็นทีม
- ทักษะการเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
-มีความคิดสร้างสรรค์



Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







พฤหัสบดี
โจทย์
 การใช้ การอ่าน การเขียนและการใช้คำชนิดต่างๆ
(คำสันธาน คำบุพบท คำอุทาน และคำวิเศษณ์ นักเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็น)
คำถาม:
นักเรียนจะใช้ อ่าน และเขียนโดยใช้คำชนิดต่างๆเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน และคำชนิดต่างๆ
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า
- Show and Share ชิ้นงาน
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำชนิดต่างๆ การอ่าน และการนำไปใช้
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น” เรื่อง กระดานไฟ


ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนกล่าวทักทายกัน สนทนาทบทวนเกี่ยวชนิดของคำในชั่วโมงที่ผ่านมา
ขั้นสอน
ชง:
- ครูนำบัตรคำที่ประด้วยคำสันธาน คำบุพบท คำอุทาน และคำวิเศษณ์ แจกให้นักเรียนคนละ 1 บัตรคำ
- นักเรียนได้เรียนคิดว่าเป็นคำชนิดใด เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น นักเรียนสนทนาแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนแต่ละคนนำไปติดบนกระดาน (แยกชนิดของคำ)
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนช่วยกันเสนอแนะความหมายและการนำไปใช้
-  ครูยกตัวอย่างประโยคหรือบทความ (ที่มีความยาวพอสมควร) ให้นักเรียนอ่านพร้อมกัน ซึ่งในประโยคหรือบทความนั้นมีคำสันธาน คำบุพบท คำอุทาน และคำวิเศษณ์ ปรากฏอยู่ด้วย
ใช้:
 นักเรียนสรุปองค์ความรู้เป็น Mind Mapping
ขั้นสรุป
ครูสุ่มให้นักเรียนนำเสนอผลงาน ๕-๖ คน
ชิ้นงาน
Mind Mapping ชนิดของคำ

ภาระงาน
แยกชนิดของคำตามที่ตนเองได้รับ(บัตรคำ)
ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน การอ่าน การเขียนและการใช้คำชนิดต่างๆอย่างสร้างสรรค์
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงาน
 - ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนอ
- ทักษะการทำงานเป็นทีม
- ทักษะการเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
-มีความคิดสร้างสรรค์


1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ5 กรกฎาคม 2558 เวลา 16:20

    บันทึกการสอน :
    ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนเรื่องชนิดของคำ คือ คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน ปัญหาที่พบในชั้นเรียน ก็จะมีบางคนที่ยังไม่สามารถแยกชนิดของคำในประโยคหรือข้อความหนึ่งๆได้ เช่น "เขาต้องการมะม่วงในจาน" ครูก็จะสุ่มถามว่า ในข้อความนี้มีคำบุพบทปรากฏอยู่หรือไม่ ถ้ามีคือคำใด เขาก็จะตอบอ่ำอึ้งอยู่สักพักกว่าจะตอบออกมา ซึ่งก็ตอบออกมาแบบไม่มั่นใจว่าจะถูกหรือผิด แต่ครูก็พยายามกระตุ้นให้เขาตอบออกมาโดยที่ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกหรือผิด ขอแค่ความมั่นใจที่จะตอบ

    ตอบลบ