เป้าหมายหลัก

เป้าหมายการเรียนรู้

ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราว เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจถึงเนื้อหาสาระสำคัญ จากการเรียนรู้ผ่านเรื่องสั้น ทำให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่านตระหนักและเห็นความสำคัญ สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่ใช้คำในภาษาเขียนอย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

week7

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย

ภาคเรียนที่  ๑  Quarter    ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                   ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
สัปดาห์ที่  ๗ วันที่  ๒๒-๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๘                                                      เวลาเรียน ๔  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
หน่วยการเรียนรู้ : เรื่องสั่น “ฟ้าบ่กั้น”

.........................................................................................................................................................................................

หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :  เรื่อง กระดานไฟ

สาระสำคัญ :                        มนุษย์เราต่างมีความคิด ทัศนคติ ความเชื่อที่หลากหลายแตกต่างกันไป บางสิ่งอาจจะล้าหลังเมื่อพบสิ่งใหม่  การยอมรับและการปรับตัวทางด้าน                                                                ทัศนคติจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันภายในสังคม
Big  Question :                 ก่อนที่เราจะเชื่อในอะไรสักอย่าง  เราจะต้องมีวิธีการพร้อมเหตุผลอย่างไร

เป้าหมายย่อย :                    นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ เข้าใจและ จับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล  รู้สึกซาบซึ้งกับเรื่องที่อ่านมีนิสัยรักการอ่าน  ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้  สามารถอ่านคำที่มักเขียนผิดและเขียนคำที่ถูกต้องได้ สามารถอ่าน เขียนและใช้พจนานุกรมในการหาคำที่มีตัวการันต์ได้  มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม  



Day
(วัน)

Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome








จันทร์
โจทย์
 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านเรื่องสั้น (เรื่อง กระดานไฟ)

คำถาม:
นักเรียนคิดอย่างไรกับการเคารพและให้เกียรติผู้อื่น
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share แผนภาพโครงเรื่อง
- พฤติกรรมสมอง จากการอ่านนิทาน และสรุปนิทานที่อ่าน

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น” เรื่อง กระดานไฟ



ขั้นนำ
ครูและนักเรียนทักทายและสนทนาเกี่ยวกับหลักความเชื่อในแต่ละชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่องพร้อมกัน และอ่านทีละคน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและให้คำนิยามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านในแง่มุมใหม่ต่างจากเรื่องที่อ่าน

ขั้นสรุป   
  นักเรียนนำเสนอผลงานของตนเอง ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้

ชิ้นงาน
   -

ภาระงาน
- อ่านเรื่องสั้น กระดานไฟ
- วิเคราะห์เรื่องที่อ่าน สิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้


ความรู้
- คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จาการอ่าน
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
- ทักษะการอ่านออกเสียง การอ่านในใจ
- ทักษะการเขียนสรุปเรื่องย่อ
- ทักษะการวาดภาพ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน


Day
(วัน)

Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







อังคาร
โจทย์
 ออกแบบฉากในเรื่อง กระดานไฟ

คำถาม:
เรื่องสั้นที่นักเรียนอ่านกัน ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยเนื้อหาที่เป็นตัวอักษร นักเรียนจะมีวิธีการอย่างไรเพื่อให้มองเห็นภาพในเนื้อเรื่องมากยิ่งขึ้น?

เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับการออกแบบฉากให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
- Show and Share ฉากประกอบเรื่อง กระดานไฟ
- Wall Thinking ภาพวาดฉากประกอบเรื่อ งกระดานไฟ

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น เรื่อง กระดานไฟ

ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่อ่าน

ขั้นสอน
ชง:
 ครูถามคำถามกระตุ้นการคิด “เรื่องสั้นที่นักเรียนอ่านกัน ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยเนื้อหาที่เป็นตัวอักษร นักเรียนจะมีวิธีการอย่างไรเพื่อให้มองเห็นภาพในเนื้อเรื่องมากยิ่งขึ้น?” นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการออกแบบฉากในเนื้อเรื่องกระดานไฟ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจผ่านภาพวาด และ นักเรียนจะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง
- นักเรียนช่วยกันเสนอแนะเกี่ยวกับการออกแบบฉากให้สอดคล้องเนื้อเรื่อง
ใช้:
นักเรียนออกแบบฉากจากการอ่านเรื่องสั่น กระดานไฟ ตามจินตนาการ เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง

ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับคำศัพท์ และสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ พร้อมทั้งเสนอแนะเกี่ยวกับการนำไปใช้เพิ่มเติม


 ชิ้นงาน
ฉากประกอบเรื่อง กระดาน-ไฟ

ภาระงาน
เสนอแนะเกี่ยวกับการออกแบบฉากให้สอดคล้องเนื้อเรื่อง
ความรู้
การออกแบบฉากตามจินตนาการเพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง

ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพวาดประกอบฉาก เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ การสรุปองค์ความรู้โดยวิธีการที่หลากหลาย
- ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และการนำคำศัพท์และข้อคิดจากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้

คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เขียน และสื่อสาร




Day
(วัน)

Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







พุธ
โจทย์
 การบท/Story Board และการแสดงละคร
คำถาม:
นักเรียนจะถ่ายทอดหลักภาษาและวรรณกรรมที่ได้เรียนผ่านมา 7 สัปดาห์ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไรบ้าง โดยไม่นำเสนอผ่านตัวหนังสือหรือรูปภาพ?

เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ และสิ่งที่จะนำไปประยุกต์ใช้
- Show and Share การเขียนบท/ Story Board

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น เรื่อง กระดานไฟ

ขั้นนำ  
- ครูและนักเรียนกล่าวทักทายกันต้นชั่วโมง
- ครูและนักเรียนทบทวนเรื่องหลักภาษาและวรรณกรรมที่ได้เรียนผ่านมาร่วมกัน
ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะถ่ายทอดหลักภาษาและวรรณกรรมที่ได้เรียนผ่านมา 7 สัปดาห์ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไรบ้าง โดยการไม่ใช้ตัวหนังสือหรือรูปภาพในการถ่ายทอด?” นักเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็น
เชื่อม :
- นักเรียนแบ่ง 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มช่วยกันเสนอแนะเกี่ยวกับการถ่ายทอดความรู้ หลักภาษาและวรรณกรรม การนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอสิ่งที่กลุ่มเลือก เช่น การถ่ายทอดผ่านละคร แต่งเพลง แต่งเพลงฉ่อย ฯลฯ
ใช้:
- นักเรียนแต่ละกลุ่มลงมือทำงานตามที่วางแผนไว้ เช่น เขียนบท เขียน Story Board ฯลฯ
- ซ้อมการแสดงตามที่กลุ่มตนเองได้ออกแบบ/วางแผนไว้
ขั้นสรุป
ครูสุ่มให้นักเรียน 5-6 คน นำเสนอผลงาน การเขียนบท/ Story Board


ชิ้นงาน
การเขียนบท/ Story Board
ถ่ายทอดผ่านละคร แต่งเพลง แต่งเพลงฉ่อย ฯลฯ

ภาระงาน
- แบ่งกลุ่ม เสนอแนะเกี่ยวกับการถ่ายทอดความรู้ หลักภาษา วรรณกรรมและ การนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ
- ซ้อมแสดงละครบทบาทสมมติ

ความรู้
การเขียนบท/ Story Board

ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์เนื้อหาของละคร
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
-ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ การสรุปองค์ความรู้ผ่านเนื้อหาของละครบทบาทสมมติ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความหมายของคำศัพท์และการนำไปใช้

คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่นำเสนอ และสื่อสาร
- เป็นนักเรียนรู้ นักคิดสร้างสรรค์




Day
(วัน)

Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







พฤหัสบดี
โจทย์
 การแสดงละคร
คำถาม:
นักเรียนได้อะไรจากการแสดงและการชมการแสดงกลุ่มของตนเองและเพื่อนๆ?

เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ละครให้น่าสนใจ
- Show and Share การแสดงละคร

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น เรื่อง กระดานไฟ

ขั้นนำ  
- ครูและนักเรียนกล่าวทักทายกันต้นชั่วโมง
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ชั่วโมงที่ผ่านมาร่วมกันก่อนเริ่มกิจกรรมการแสดงละคร

ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะมีวิธีการถ่ายทอดหลักภาษาและวรรณกรรมผ่านละครอย่างไร ให้น่าสนใจและผู้ชมได้รับประโยชน์ในการชมสูงสุด?” นักเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็น
เชื่อม :
นักเรียนละกลุ่มระดมความคิดภายในกลุ่ม เพื่อหาวิธีการทำให้ละครตนเองน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มแสดงละครตามที่กลุ่มตนเองได้ออกแบบ/วางแผนไว้ และเป็นผู้ชมที่ดี

ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยน และสะท้อนสิ่งที่ได้จากการแสดงและการรับชมละครกลุ่มของตนเองและเพื่อนๆ


ชิ้นงาน
แสดงละครบทบาทสมมติ

ภาระงาน
- แสดงละครบทบาทสมมติ
- สนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากละครร่วมกัน

ความรู้
การแสดงละครบทบาทสมมติตามจินตนาการ

ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์เนื้อหาของละคร
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
-ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ การสรุปองค์ความรู้ผ่านเนื้อหาของละครบทบาทสมมติ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความหมายของคำศัพท์และการนำไปใช้

คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่นำเสนอ และสื่อสาร
- เป็นนักเรียนรู้ นักคิดสร้างสรรค์


1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกการสอน :
    ในสัปดาห์เป็นเรียนรู้วรรณกรรมเพิ่มอีกเรื่อง คือ เรื่อง กระดานไฟ จากการอ่านก็จะสังเกตเห็นว่ามีคำยากเพิ่มมา ในการอ่านพร้อมกันนั้น จากคำที่ง่ายก็จะอ่านเสียงที่ดังชัดเจน เมื่อมาเจอคำยากเสียงก็จะดังแผล่วลง และบางคนจะไม่อ่านและข้ามคำคำนั้นไปเลย ครูเองก็จะพยายามอ่านให้ฟังและให้พี่ๆ ได้สะกดคำนั้นก่อนถึงจะเริ่มอ่านต่อไป
    ปัญหาที่เกิดขึ้นในการสรุปความเข้าใจในวรรณกรรม ส่วนน้อยที่ไม่เข้าใจและถามครูว่า สรุปอย่างไร เรื่องมันเล่าว่าอย่างไร? ครูเองก็ถามกลับไปว่า ถ้าพี่ไม่เข้าในเนื้อเรื่องให้พี่ไปอ่านทบทวนใหม่อีก 1 รอบ แต่ก่อนที่ครูจะให้สรุป ครูเองก็จะพานักเรียนสรุปความเข้าใจก่อนแล้ว จากการให้พี่ๆได้เล่าสรุปเนื้อเรื่อง

    ตอบลบ