เป้าหมายหลัก

เป้าหมายการเรียนรู้

ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราว เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจถึงเนื้อหาสาระสำคัญ จากการเรียนรู้ผ่านเรื่องสั้น ทำให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่านตระหนักและเห็นความสำคัญ สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่ใช้คำในภาษาเขียนอย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

week3

logo             
                               แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย

ภาคเรียนที่  ๑  Quarter   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                           ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕             
         สัปดาห์ที่  ๓  วันที่  ๒๕ – ๒๘   พฤษภาคม  ๒๕๕                                       เวลาเรียน  ๔  คาบ (๑ ชั่วโมง / คาบ)
                หน่วยการเรียนรู้ : เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น”






หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น”  เรื่อง เขียดขาคำ
สาระสำคัญ        วิถีชีวิตของสังคมชนบทอีสาน อาหาร วัฒนธรรม พร้อมๆกับการต้องพึ่งพาสังคมภายนอกที่เป็นตัวแทนของรัฐบาล  ปากท้องเป็นเรื่องสำคัญของครอบครัว
Big Question : นักเรียนจะทำอย่างไรถ้านักเรียนเป็นนายนาค เพราะเหตุใดจึงทำเช่นนั้น
เป้าหมายย่อย : นักเรียนสามารถสรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่าน เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง สามารถเขียนบันทึกและอธิบายข้อดีของการเขียนบันทึกได้ มีนิสัย รักการอ่านและการเขียนนักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวและจับใจความสำคัญของเรื่องโดยสามารถถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีมารยาทในการพูดและฟัง ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ อีกทั้งสามารถพูดแสดงความคิดเห็นเรื่องที่ศึกษาได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถพิจารณาคุณค่าของวรรณกรรมได้





Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome








จันทร์

โจทย์
 นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากการอ่านเรื่องสั้น
คำถาม:
-
เราจะใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่รอบตัวให้คุ้มค่าได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านเรื่องสั้น
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Wall Thinking สรุปเนื้อเรื่อง
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านเรื่องสั้นและสรุปเรื่องสั้นที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น”  เรื่อง เขียดขาคำ
- สมุดบันทึกวิชาภาษาไทย
ขั้นนำ  
ครูให้นักเรียนเล่าทบทวนเรื่อง เขียดขาคำ
ขั้นสอน
ชง
นักเรียนอ่าน เรื่อง เขียดขาคำ โดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
เชื่อม
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : สรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: วิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : สรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริง
ประเมินค่า : การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : แต่งเรื่องใหม่  แต่งตอนจบใหม่ 
วาดภาพประกอบ  ฉาก การ์ตูน
ใช้
นักเรียนเขียนสรุปเรื่องที่อ่านเป็น บันทึกสรุปตามความเข้าใจ
ขั้นสรุป 
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้
ชิ้นงาน
สรุปเรื่อง เขียดขาคำ

ภาระงาน
อ่านนิทาน สังเคราะห์ สนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้
ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงาน แง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองานผ่านการแสดงละคร
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
- ทักษะการอ่านออกเสียง การอ่านในใจ
-ทักษะการเขียนสรุปองค์ความรู้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome






อังคาร

โจทย์
 การใช้ และการอ่าน การเขียนและการใช้มาตราตัวสะกด
คำถาม:
นักเรียนจะใช้ อ่าน และเขียนมาตราตัวสะกดอย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน (มาตราตัวสะกด)
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับมาตราตัวสะกด
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น”  เรื่อง เขียดขาคำ
- สมุดบันทึกวิชาภาษาไทย
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมชั่วโมงที่ผ่านมา
ขั้นสอน
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถามเกี่ยวกับ มาตราตัวสะกดในภาษาไทยว่ามีอะไรบ้าง
เชื่อม :
- ให้นักเรียนออกมาเขียนมาตราตัวสะกดในภาษาไทย พร้อมยกตัวอย่าง
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่มละ 3-4 คน เพื่อเล่มเกมมาตราตัวสะกด  โดยครูแจกกระดาษให้นักเรียนคนละ 1 แผ่น แล้วให้เขียนชื่อเล่นของตนเองลงไป  แล้วครูก็พับกระดาษนั้นแล้วนำมาปิดไว้ที่กระดาน 
กติกา : ให้นักเรียนส่งตัวแทนออกมากลุ่มละ 1 คน สลับกันไปเรื่อยๆ เพื่อหาคำที่ตรงกับมาตราตัวสะกดตามที่กลุ่มตนเองได้ ให้โอกาสเปิดได้ 1 ครั้ง ถ้าไม่ใช่ให้กลับไปนั่ง แล้วให้กลุ่มอื่นมาเปิดต่อ สลับกันอย่างนี้ไปเรื่อยๆ โดยใช้เวลา 20 นาที
ใช้ :
นักเรียนหาและแยกแยะคำตามมาตราตัวสะกดในเรื่องสั้น เรื่องนี้อย่างละ 15 คำ  จากนั้นนำไปแต่งประโยค
ขั้นสรุป   
นักเรียนนำเสนองานให้ครูและเพื่อนๆฟัง
ชิ้นงาน
เขียนแยกแยะคำตามาตราแม่สะกดลงในสมุดของตนเอง

ภาระงาน
- ช่วยกันภายในกลุ่ม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเล่นเกม
- ศึกษาค้นคว้าตัวสะกดจากเรื่องเขียดขาคำ
ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน การอ่าน การเขียนและการใช้มาตราตัวสะกด
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงาน แง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนอ
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะการเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน






Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







พุธ
โจทย์
 การใช้ และการอ่าน การเขียนและการใช้มาตราตัวตัวสะกด
คำถาม:
นักเรียนจะใช้ อ่าน และเขียนมาตราตัวสะกดอย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง
เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนรู้
- Show and Share การสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเรื่องสั้น
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยน ทบทวน เกี่ยวกับมาตราตัวสะกด
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น”  เรื่อง เขียดขาคำ

ขั้นนำ 
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมชั่วโมงที่ผ่านมา

ขั้นสอน
ชง :
คำพยางค์สั้นๆ ถ้าเราอยากให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์ นักเรียนจะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง?
เชื่อม :
ครูละนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับคำถามที่ครูถามไป
ใช้ :
- ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่มละ 5-6 คน 
- ให้นักเรียนหาคำเพิ่มเติมจากมาตราตัวสะกดที่ตนได้รับผิดชอบ แล้วนำมาแต่งประโยคคนละ อย่างน้อย 10 ประโยค

ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้
ชิ้นงาน
แต่งประโยคจากมาตราตัวสะกดที่ภายในกลุ่มช่วยกันค้นคว้าเพิ่มเติม
ภาระงาน
สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนรู้ และการนำคำในมาตราตัวสะกดที่มาแต่งประโยค
ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน การอ่าน การเขียน การแต่งประโยคและการใช้มาตราตัวสะกด
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนอ
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะการเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน



Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome






พฤหัสบดี
โจทย์
 สรุปเหตุการณ์ในเรื่องเขียดขาคำ เป็นการ์ตูนช่อง
คำถาม:
จากที่นักเรียนได้อ่านเนื้อเรื่อง เราสามารถถ่ายถอดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายและน่าสนใจอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนรู้
- Show and Share การสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเรื่องสั้น
- Wall Thinking ผลงานแผนการ์ตูนช่อง
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยน ทบทวน เกี่ยวกับมาตราตัวสะกดและลำดับเหตุการณ์ของเนื้อเรื่อง

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น”  เรื่อง เขียดขาคำ
- กระดาษ A3
- สีไม้
ขั้นนำ 
- ครูและนักเรียนกล่าวคำทักทายกัน
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมเมื่อวาน

ขั้นสอน
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “จากที่นักเรียนได้อ่านเนื้อเรื่อง เราสามารถถ่ายถอดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายและน่าสนใจอย่างไร?
เชื่อม :
ครูละนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนจะถ่ายทอดเนื้อเรื่องดังกล่าวให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
ใช้ :
- ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 13 คู่ แจกกระดาษ A3
- ครูให้นักเรียนออกแบบเรื่องเขียดขาคำเป็นการ์ตูนช่อง

ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้
ชิ้นงาน
การ์ตูนช่องเรื่องเขียดขาคำ

ภาระงาน
สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนรู้ และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้
ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน การอ่าน การเขียนและการใช้มาตราตัวสะกด
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานการ์ตูนช่อง
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนอ
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะการเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน



1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกการสอน :
    ในสัปดาห์นี้ ได้เริ่มอ่านเนื้อเรื่อง เรื่องสั้น "เขียดขาคำ" จากการสังเกตเห็นว่า พี่ๆป.5 สนุกกับเนื้อเรื่องและคำใหม่ๆ อ่านถูกบ้าง อ่านผิดบ้าง แต่เพื่อนๆก็พยายามที่จะช่วยกัน คนที่อ่านคล่องแล้วก็จะให้เวลาไม่นานในการอ่าน แต่คนที่อ่านยังไม่คล่องเพื่อนก็คอยช่วยเพิ่มเติม
    ในช่วงของกิจกรรมการเล่นเกมมาตราแม่สะกด พี่ๆ ค่อยข้างจะสนุกสนาน ตื่นเต้น แต่ครูเองก็ต้องพยายามควบคุมสถานะการห้องเรียน เรื่องเสียงดัง และเล่นกันจนเกินเลย ซึ่งถ้าหากว่าเสียงดังจนเกินกว่าตามที่ตกลงกัน ก็จะหยุดเล่นทันที ในส่วนของมาตราแม่สะกด ยังมีส่วนน้อยที่ยังไม่เข้าใจเท่าที่ควรจึงทำให้การแยกแยะเกิดการผิดพลาด

    ตอบลบ