เป้าหมายหลัก

เป้าหมายการเรียนรู้

ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราว เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจถึงเนื้อหาสาระสำคัญ จากการเรียนรู้ผ่านเรื่องสั้น ทำให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่านตระหนักและเห็นความสำคัญ สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่ใช้คำในภาษาเขียนอย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

week2

               

                               แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย

ภาคเรียนที่  ๑  Quarter   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                      ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕                                 สัปดาห์ที่  ๒ วันที่ ๑๘-๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘                                       เวลาเรียน ๔  คาบ (๑ ชั่วโมง / คาบหน่วยการเรียนรู้ : เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น”






หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์   เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น”
สาระสำคัญ  : การคาดเดาเรื่องราวหรือคาดคะเนเหตุการณ์ล่วงหน้า ช่วยกระตุ้นให้เราอยากเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ ว่าจะเป็นไปอย่างที่เราคาดหวังไว้หรือไม่
        Big Question : นักเรียนคิดว่าเรื่องราวของ  เรื่องสั้นนี้จะเป็นอย่างไร เพราะอะไร?

เป้าหมายย่อย : สามารถคาดเดาหรือคาดคะเนเหตุการณ์ได้อย่างมีเหตุผล บอกเล่า อธิบายให้คนอื่นฟังได้ อ่านคำและเรื่องราวได้ จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้






Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome








จันทร์

โจทย์
 คาดเดาเรื่อง
คำถาม:
นักเรียนคิดว่าเรื่องราวในเรื่องฟ้าบ่กั้น จะเป็นอย่างไร ?
เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share แผนภาพโครงเรื่อง
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
- Mind Mapping ก่อนเรียน
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านเรื่องสั้นและสรุปเรื่องสั้นที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น” 
- กระดาษ A4
- สีตกแต่ง

ขั้นนำ  
- ครูถามนักเรียน “นักเรียนคิดว่าใน Quarter 1  นี้ เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหนังสืออะไร เพราะเหตุใด”
- นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น

ขั้นสอน
ชง :
- รูแนะนำหนังสือเรื่องสั้น ให้นักเรียนดู
- สนทนาเกี่ยวกับปกหนังสือ เช่น เห็นอะไรบ้าง สิ่งที่เห็นน่าจะเกี่ยวกับเรื่องอย่างไร ทำไมคิดอย่างนั้น
เชื่อม :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ นักเรียนคิดว่าเรื่องราวในหนังสือน่าจะเป็นอย่างไรบ้าง ”
นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
ใช้ :
ครูแจกกระดาษให้นักเรียนเขียนและวาดภาพสิ่งที่คาดเดา จากหนังสือเรื่องสั้น พร้อมตกแต่งภาพให้สวยงาม
ขั้นสรุป   
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้




ชิ้นงาน
คาดเดาเรื่องจากการสังเกตจากหน้าปกหนังสือ

ภาระงาน
คาดเดาเรื่อง สังเคราะห์ สนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้
ความรู้
คาดเดาเรื่องที่จะเกิดขึ้น
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองานผ่านการแสดงละคร
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
- ทักษะการอ่านออกเสียง การอ่านในใจ
-ทักษะการเขียนสรุปองค์ความรู้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome






อังคาร

โจทย์
 สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
คำถาม:
นักเรียนจะใช้ อ่าน และเขียนตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
อย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share เกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ในวิชาภาษาไทย
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า
- Mind Mapping ก่อนเรียน
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ในวิชาภาษาไทย
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น” 

ขั้นนำ    
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมชั่วโมงที่ผ่านมา

ขั้นสอน
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนเรียนเนื้อหาอะไรมาบ้าง ในระดับชั้นที่ผ่านมา?
เชื่อม :
- ครูสุ่มให้นักเรียนออกมาเขียนบนกระดานในสิ่งที่นักเรียนเคยเรียนผ่านมา
- ครูถามนักเรียนต่อว่า แล้วมีสิ่งไหนที่เรายังไม่เข้าใจ แล้วอยากเรียนรู้เพิ่มเติมบ้าง?
- ครูให้นักเรียนออกมาเขียนบนกระดาน เพื่อให้เป็นตัวอย่างให้กับเพื่อนคนอื่น ๆ
ใช้ :
นักเรียนทำ Mind Mapping ภาษาไทยก่อนเรียน ใน Q.1 เพื่อครูจะได้นำไปออกแบบการเรียนรู้ในสิ่งที่นักเรียนรู้แล้ว และสิ่งที่นักเรียนอยากเรียนรู้ ต่อไป
ขั้นสรุป
นักเรียนนำเสนองานให้ครูและเพื่อนๆฟัง
ชิ้นงาน
Mind Mapping ก่อนเรียน

ภาระงาน
พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่รู้แล้วที่เคยเรียนผ่านมา  และสิ่งที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม
ความรู้
ความรู้เดิม และความรู้ใหม่จากสิ่งที่อยากเรียนรู้
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนอ
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะการเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน




Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







พุธ
โจทย์
 การใช้ และการอ่าน การเขียนและการใช้ตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
คำถาม:
นักเรียนจะใช้ อ่าน และเขียนตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
อย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง
เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนรู้
- Show and Share การสิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทาน
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยน ทบทวน เกี่ยวกับมาตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
-Mind Mapping สรุปองค์ความรู้
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น” 

ขั้นนำ 
ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมชั่วโมงที่ผ่านมา

ขั้นสอน
ชง :
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ก่อนที่เราจะอ่านหนังสือเล่นหนึ่งๆ ที่เราสนใจ นักเรียนคิดว่าเราน่าจะทำอะไรก่อนที่จะทำให้เราเข้าใจเนื้อหามากขึ้น?
เชื่อม :
- ครูละนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับคำถามที่ครูถามไป
- ครูให้นักเรียนอ่านบทนำของหนังสือ ซึ่งเป็นการทำความรู้จักที่ไปที่มาของหนังสือก่อนที่จะเริ่มเรียน โดยให้นักเรียนฝึกอ่านในใจ
- ครูและนักเรียนร่วมสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่านไป
ใช้ :
นักเรียนสรุปสิ่งที่เข้าใจจากการอ่านบทนำลงในสมุดของตนเอง

ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้
ชิ้นงาน
สรุปเนื้อหาจากการอ่านบทนำลงสมุดของตนเอง ตามความเข้าใจ

ภาระงาน
สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนรู้ และสิ่งที่ได้อ่าน
ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน การอ่าน การเขียน การวาดภาพและการใช้ตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนอ
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะการเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน




Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome






พฤหัส-บดี
โจทย์
 ออกแบบหน้าปกใหม่
คำถาม:
หลังจากที่นักเรียนได้ คาดเดาเรื่อง ได้อ่านบทนำแล้ว ถ้าจะให้นักเรียนออกแบบหน้าปกใหม่ นักเรียนจะออกแบบปกอย่างไรให้น่าสนใจ?
เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนรู้
- Show and Share การสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเรื่องสั้น
- Wall Thinking ผลงานการออกแบบหน้าปกใหม่
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยน ทบทวน เกี่ยวกับองค์ประกอบของหนังสือ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- กระดาษ A4
- เรื่องสั้น “ฟ้าบ่กั้น” 
ขั้นนำ 
ครูและนักเรียน กล่าวทักทายกัน และทบทวนกิจกรรมในชั่วโมงที่ผ่านมา

ขั้นสอน
ชง :
- ครูให้ดูหนังสือเล่มที่จะใช้เรียน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนคิดว่าในหนังสือหนึ่งเล่น น่าจะมีองค์ประกอบอะไรบ้าง?
เชื่อม :
- ครูละนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับองค์ประกอบของหนังสือ
- ครูให้นักเรียนออกมาเขียนบนกระดาน ในสิ่งที่เขาคิดว่าเป็นองค์ประกอบของหนังสือ
ใช้ :
นักเรียนออกแบบปกใหม่ และสิ่งที่ปรากฏในหน้าปกหนังสือ (ชื่อหนังสือ ภาพประกอบ ผู้แต่ง ผู้แปล ฯ)

ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้
ชิ้นงาน
การออกแบบหน้าปกใหม่ของหนังสือ

ภาระงาน
สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับองค์ประกอบของหนังสือ และสิ่งที่ปรากฏบนหน้าปกของหนังสือที่นักเรียนสังเกตเห็น
ความรู้
องค์ประกอบของหนังสือ ในแต่ละเล่ม
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนอ
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะการเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน





1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกการสอน :
    ในสัปดาห์นี้ยังไม่ได้ลงลึกด้านเนื้อหาที่อยู่ในหนังสือเรื่องสั้นฟ้าบ่กั้น แต่จะเป็นการทบทวนความรู้เดิมของพี่ๆป.5 คือ การทำ Mind Mapping ก่อนเรียน และให้ดูปกเพื่อคาดเดาเรื่องที่จะเกิดขึ้นในเรื่องสั้นเล่มนี้ รวมทั้งการทำความรู้จักที่ไปที่มาของหนังสือ องค์ประกอบของหนังสือ ที่เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ผู้อ่านควรจะรู้
    ปัญหาที่พบ บางคนที่ครูให้เขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้ ปรากฏว่านึกไม่ออก ครูจึงช่วยยกตัวอย่างเพื่อให้เเข้าใจและเห็นภาพมากขึ้น การส่งงานช้าก็ยังมีอยู่บ้าง แต่ไม่กี่คน (คนเดิมๆ) ครูก็ได้เรียกคุยถึงปัญหาและสาเหตุ รวมทั้งวิธีแก้ไข ก็ดีขึ้น ถึงแม้จะไม่ได้ส่งในเวลาเรียน แต่ก็ไม่ได้เอาไปเป็นการบ้าน (ส่งเลิกเรียนก่อนกลับบ้าน) ครูให้พี่ ป.5 ฝึกเขียนตัวหนังสือให้เล็กลง เพื่อจะได้ฝึกการเขียนที่เป็นผู้ใหญ่ขึ้น

    ตอบลบ