เป้าหมายหลัก

เป้าหมายการเรียนรู้

ผู้เรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราว เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจถึงเนื้อหาสาระสำคัญ จากการเรียนรู้ผ่านเรื่องสั้น ทำให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่านตระหนักและเห็นความสำคัญ สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่ใช้คำในภาษาเขียนอย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

week10

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย
ภาคเรียนที่  ๑  Quarter    ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
สัปดาห์ที่  ๑๐ วันที่  ๑๓ – ๑๖   กรกฎาคม  ๒๕๕๘                                     เวลาเรียน ๔  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
หน่วยการเรียนรู้ : เรื่องสั้น ฟ้าบ่กั้น เรื่อง อีกไม่นานเธอจะรู้

.........................................................................................................................................................................................

หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :  เรื่อง อีกไม่นานเธอจะรู้

สาระสำคัญ :                        สังคมและการเปลี่ยนแปลงที่คนในชนบทไม่สามารถกำหนดให้เป็นไปได้ การเข้ามาของนายทุนจากภายนอกพื้นที่ การถูกเปลี่ยนมือของเจ้าของที่ดิน การขาดซึ่งอำนาจในการต่อรองกับอำนาจมืดของคนเพียงไม่กี่กลุ่ม สะท้อนสังคมอีสานยุคของการเปลี่ยนแปลงกำลังเข้ามาเยือน
Big  Question :                 ถ้านักเรียนต้องเดินทางออกไปในสถานที่ที่ไม่เคยไปเพียงลำพัง แล้วเกิดปัญหาขึ้นนักเรียนจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร?

เป้าหมายย่อย :                    นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ เข้าใจและ จับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล รู้สึกซาบซึ้งกับเรื่องที่อ่านมีนิสัยรักการอ่าน   ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้  สามารถอ่านคำที่มักเขียนผิดและเขียนคำที่ถูกต้องได้ สามารถอ่าน เขียนแต่งเรื่องได้อย่างสร้างสรรค์  มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม  




Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome








จันทร์
โจทย์
 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านวรรณกรรม

คำถาม:
นักเรียนคิดว่าเพราะเหตุใด ผู้ปกครองของนักเรียนถึงคอยแนะนำ คอยสั่งสอนเรา?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share แผนภาพโครงเรื่อง
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น เรื่อง อีกไม่นานเธอจะรู้


ขั้นนำ
ครูและนักเรียนทักทายและสนทนาเกี่ยวกับนิทานไทยที่รู้จัก
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่อง อีกไม่นานเธอจะรู้ โดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่องพร้อมกัน และอ่านทีละคน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและให้คำนิยามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านในแง่มุมใหม่ต่างจากเรื่องที่อ่าน
ใช้:
  นักเรียนเขียนสรุปแผนภาพโครงเรื่อง และแต่งตอนจบใหม่
ขั้นสรุป   
  นักเรียนนำเสนอผลงานของตนเอง ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้
ชิ้นงาน
 เขียนสรุปแผนภาพโครงเรื่อง

ภาระงาน
- อ่านเรื่องสั้น เรื่อง อีกไม่นานเธอจะรู้
- วิเคราะห์เรื่องที่อ่าน สิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้


ความรู้
- คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จาการอ่าน
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
- ทักษะการอ่านออกเสียง การอ่านในใจ
- ทักษะการเขียนสรุปเรื่องย่อ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน


Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







อังคาร
โจทย์
 หลักการจำแนกและการสมาสคำ
คำถาม:
ทำไมถึงต้องมีการสมาสคำขึ้นใช้ในภาษาไทย?

เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share ตัวอย่างคำสมาส
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและการนำคำสมาสไปใช้ในการเรียนรู้ภาษาไทยในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
-Brainstorm การทำแบบทดสอบ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น เรื่อง อีกไม่นานเธอจะรู้

ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่อ่าน
ขั้นสอน
ชง:
-  ครูยกตัวอย่างคำสมาสและชื่อของนักเรียนบางคนที่เป็นคำสมาส แล้วครูถามคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร” นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น คำที่เห็นบนกระดาน
-  นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับคำสมาส เพิ่มเติมโดยช่วยกันแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะการนำไปใช้
เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการสมาสคำและหลักการสังเกต และตั้งคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
ใช้:
นักเรียนทำแบบทดสอบหลักการสังเกตและหลักการสมาสคำ และแต่งประโยค
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับคำสมาส และสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ พร้อมทั้งเสนอแนะเกี่ยวกับการนำไปใช้เพิ่มเติม

 ชิ้นงาน
ทำแบบทดสอบหลักการสังเกตและหลักการสมาสคำ และแต่งประโยค

ภาระงาน
สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับหลักการสมาสคำและการจำแนก และการนำคำสมาสไปใช้

ความรู้
- หลักการสมาสคำ
-หลักการสังเกตคำสมาสที่ปรากฏในภาษาไทย
-ความหมายของคำศัพท์ใหม่และวิธีการนำไปใช้ในการเขียน การอ่าน และการพูด
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานการเขียนแต่งประโยค
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
-ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์
- ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และการนำคำศัพท์และข้อคิดจากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เขียน และสื่อสาร
- ความคิดสร้างสรรค์




Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







พุธ
โจทย์
 หลักการจำแนกและการสนธิคำ
คำถาม:
ทำไมถึงต้องมีการสนธิคำขึ้นใช้ในภาษาไทย?

เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share ตัวอย่างคำสนธิ
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและการนำคำสนธิไปใช้ในการเรียนรู้ภาษาไทยในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
-Brainstorm การทำแบบทดสอบ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น เรื่อง อีกไม่นานเธอจะรู้
- สื่อสารสนเทศ i-pad

ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่อ่าน
ขั้นสอน
ชง:
-  ครูยกตัวอย่างคำสนธิ โดยใช้ PPT ในการเรียนรู้ แล้วครูถามคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร” นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น คำที่เห็นบนกระดาน
-  นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับคำสนธิ เพิ่มเติมโดยช่วยกันแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะการนำไปใช้ โดยใช้ i-pad
เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการสนธิคำและหลักการสังเกต และตั้งคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
ใช้:
นักเรียนทำแบบทดสอบหลักการสังเกตและหลักการสนธิคำ และแต่งประโยค
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับคำสนธิ และสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ พร้อมทั้งเสนอแนะเกี่ยวกับการนำไปใช้เพิ่มเติม

 ชิ้นงาน
ทำแบบทดสอบหลักการสังเกตและหลักการสนธิคำ และแต่งประโยค

ภาระงาน
สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับหลักการสนธิคำและการจำแนก และการนำคำสนธิไปใช้

ความรู้
- หลักการสนธิคำ
-หลักการสังเกตคำสนธิที่ปรากฏในภาษาไทย
-ความหมายของคำศัพท์ใหม่และวิธีการนำไปใช้ในการเขียน การอ่าน และการพูด
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์เนื้อหาของเรื่องที่อ่าน
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
-ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์
- ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความหมายของคำศัพท์และการนำไปใช้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่นำเสนอ และสื่อสาร
- ทำงานได้ด้วยตนเอง




Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







พฤหัสบดี
โจทย์
 การใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายในภาษาไทย
คำถาม:
ทำไมถึงต้องมีการใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายในภาษาไทย?

เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share ตัวอย่างคำสนธิ
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและการนำคำสนธิไปใช้ในการเรียนรู้ภาษาไทยในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
-Brainstorm การทำแบบทดสอบ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- เรื่องสั้น เรื่อง อีกไม่นานเธอจะรู้

ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่อ่าน
ขั้นสอน
ชง:
-  ครูยกตัวอย่างประโยคที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่ปรากฏในภาษาไทย ที่นักเรียนคุ้นเคย แล้วครูถามคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร” นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น คำที่เห็นบนกระดาน
-  นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับการใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายในภาษาไทย เพิ่มเติมโดยช่วยกันแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะการนำไปใช้
เชื่อม:
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายในภาษาไทยและหลักการสังเกต และตั้งคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนจะนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง
ใช้:
นักเรียนแต่งเรื่องราวขึ้นมาใหม่ (นิทาน/เรื่องเล่า) แล้วนำเครื่องหมายต่างๆ ไปใช้ให้ถูกต้อง พร้อมวาดภาพประกอบ
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับการใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายในภาษาไทย และสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ พร้อมทั้งเสนอแนะเกี่ยวกับการนำไปใช้เพิ่มเติม

 ชิ้นงาน
แต่งเรื่องราวขึ้นมาใหม่ (นิทาน/เรื่องเล่า) แล้วนำเครื่องหมายต่างๆ ไปใช้ให้ถูกต้อง พร้อมวาดภาพประกอบ
ภาระงาน
สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายในภาษาไทย และการนำไปใช้

ความรู้
- หลักการการใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายในภาษาไทย
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์เนื้อหาของเรื่องที่อ่าน
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น
-ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์
- ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความหมายของคำศัพท์และการนำไปใช้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่นำเสนอ และสื่อสาร
- ทำงานได้ด้วยตนเอง




1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ19 กรกฎาคม 2558 เวลา 15:34

    บันทึกการสอน :
    ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนรู้ด้านเนื้อหา ก่อนที่จะมีการสรุปองค์ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์หน้า (W.11) แต่เนื่องจากวันอังคารเป็นวันที่นักเรียนทุกคนนัดส่งนิทานแผ่นพับ ซึ่งจะต้องเข้าเล่มในวันอังคาร กิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้จึงต้องเลื่อนออกไป ดังนั้น เนื้อหาของการใช้เครื่องหมายและสัญลักษณ์ในภาษาไทย พี่ๆป.5จึงยังไม่ได้เรียน จึงจะยกยอดไปเป็นชั่วโมงถัดไป เพื่อพี่ๆจะได้ใช้เครื่องหมายถูกต้องตามหลักการใช้ในการเรียนในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
    ส่วนงานค้างก็ยังคงมีอยู่ ครูเองก็พยายามกระตุ้นให้เขาเล่นน้องลงในช่วงของการทำงาน และพยายามหาเรื่องเล่าเกี่ยวกับข้อเสียของการทำงานแบบดินพอกหางหมูให้เขาได้ตระหนัก และชื่นชมคนที่ส่งงานครบ ไม่ทำให้ตนเองต้องเป็นคนที่มีนิสัยดินพอกหางหมู แล้วจะสรุปองค์ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์ถัดไป

    ตอบลบ